"ฟรีด้อมเทรดเดอร์"

"ฟรีด้อมเทรดเดอร์"
"การเดินทางของ Commodity Trader กาแฟสักแก้ว และก็กางเกงใน -- สำหรับโกยเงิน และสร้างความนิ่ง"

คุยกับเราใน Facebook (คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกัน สำหรับคนที่มี Facebook)

คุยกับเราใน Facebook (คลิ๊กเข้ามาเป็นเพื่อนกัน สำหรับคนที่มี Facebook)
เป็นเพื่อนกัน (click เลย)... "เข้าสู่โลกของ Monkey Trade กันคร้าบ!!"

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปูพื้นชั้นที่สอง (ห้องแห่งราคาอนาคตของ Monkey)



"จะว่าไปแล้วพูดถึงอนาคตก็คงไม่พ้น หมอดู คู่หมอเดา" ผมเคยนำเสนอเรื่องของ "หมอตี๋" ที่รักษาเก่ง แต่คนไม่เชื่อถือ ..(แค้นๆ!!) เลยโกนหัวมุ่งเข้าหาธรรม จากนั้นก็เลยประสบความสำเร็จ กลายเป็น "พระอาจารย์หมอที่โด่งดัง" (สรุปเจ๋งกว่าหมอธรรมดา ขึ้นไปอีกขั้น นี่และผลบุญ ..อิ อิ)

ฉันใด ก็ฉันนั้น ..ตลาดหุ้น ย่อมต้องมี "หมอดู ..เอ๋อ ไม่เกี่ยวกันเท่าไหร่" แต่เอาเป็นว่า วันนี้ประเด็นร้อนที่เราหยิบยกมาคุย คือ การคาดคะเนราคาในอนาคต โดยเอาพื้นฐานมาดู อย่างง่ายๆ

(ดูจากภาพ) การหาราคาในอนาคตก็ทำได้จาก การนำ Book Value ของกิจการไปคาดคะเนราคาในอนาคต ..จากตัวอย่างเมื่อห้าปีที่แล้ว ย้อนดูแล้วเทียบกับราคาปัจจุบัน "ด้วยการเจริญเติบโตของกิจการเช่นนี้ มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่กิจการนี้ จะยังคงเติบโตต่อเนื่อง" ..ซึ่งถ้าดูคร่าวๆ เราอาจเดาราคา ในอนาคตของ Book Value ของกิจการนี้เท่ากับ 200 บาท

มาดูในส่วนของ P/BV คืออะไร ผมกลับมองว่ามันคือ "อารมณ์ของนักลงทุน ..ที่มีต่อกิจการนั้นๆ (ถ้าใช้ตารางก็คือเราจะดู ระยะเวลา Scope ประมาณ 5 ปี) ซึ่งในช่วงห้าปี จะเห็นได้ว่า "ช่วงที่กิจการนี้รุ่งๆ นักลงทุนให้ค่า P/BV ประมาณ 3 เท่ากว่าๆ

ซึ่งถ้าจะประมาณราคา "ในอนาคต ในช่วงที่กิจการอยู่ในจังหวะที่ดี ก็จะใช้ "Book Value(ที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต) * P/BV " จากตัวอย่างจะได้ 200 * 3 จะเท่ากับประมาณ 600 บาท

(ซึ่งจุดนี้เป็นเพียงแค่การประมาณ ราคาในอนาคตอย่างง่าย) ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีใครสามารถรู้ราคาในอนาคตจริงๆ จนกว่ามันจะมาถึง ..อีกประเด็นคือ บางกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของกิจการอย่างมหาศาล ก็จะทำให้ "อารมณ์ของนักลงทุน" หรือ P/BV มีความเปลี่ยนแปลงได้

ตัวอย่างชัดๆเช่น CPF ที่เดิมขายอาหารสด แต่เปลี่ยนมาเป็นขาย Ready to eat Meal มากขึ้ัน ซึ่งจุดนี้ทำให้กิจการมีกำไรสูงขึ้น (แต่มันก็ย่อมขึ้นมา ด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน) หรือ อย่างที่ชัดๆอีกอันก็ CPALL(7-11) ที่เปลี่ยนโครงสร้างของกิจการ จากการขายของแห้งมาขายอาหาร(จาก "สะดวกซื้อ"มาเป็น"สะดวกอิ่ม") ซึ่งมีกำไรสูงขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้าง ที่มากตาม เช่น ระบบตู้แช่ และ ระบบ Logistic ที่ต้องอาศัยการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งมาพร้อมกับ Cost ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จะเห็นได้ว่าเมื่อกิจการเปลี่ยนโครงสร้าง "อารมณ์ของนักลงทุน ต่อกิจการนั้นๆ ก็จะแปรเปลี่ยนตาม" ซึ่งจะทำให้ P/BV ขึ้นหรือลง ก็สุดแล้วแต่ Greed & Fear เข้ามาทำปฎิกริยา ต่อราคาหุ้นนั่นเองครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


ภาพใหญ่ของ Commodity ตัวต่างๆ

Port จำลอง ( "Trader ลึกลับ หยง" & "Investor หมัดเมา Pat")

Port จำลอง ( "Trader ลึกลับ หยง" & "Investor หมัดเมา Pat")
นี่เป็น Port ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทดลอง ความสามารถในการ Trade ทำกำไรจากตลาด Commodity (น้ำตาล No.11) ซึ่งแน่นอนเป็นการวัด Performance ในระยะยาว ซึ่งเราจะ Update มาใน Link ให้ดูเรื่อยๆครับ

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย 20 ปี "แห่ง Roller Coaster!!"