วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553
“ตลาดน้ำตาลผูกขาด” กับ “ตลาดเสรี” อะไรดีกว่ากัน นะ!!
เนื้อที่ประเทศไทย 320 ล้านไร่ (เป็นป่าซะ 105 ล้านไร่)
เนื้อที่ถือครอง(ใครถือครอง ..ใครหว่า 86 ล้านไร่ --“เพาะปลูกไม่ได้ เพราะเป็นที่ “ใครหว่า!!”)
เนื้อที่ทางการเกษตร 130 ล้านไร่ (ทำนา (57)/ ข้าวโพด (7.1)/ มันสำปะหลัง (7)/ อ้อย (6.8))…ปัญหาก็คือประเทศไทยมีเนื้อที่ในการเพาะปลูกที่จำกัด รวมทั้งระบบชลประทาน รวมทั้งเครื่องมือ ไม่มีประสิทธิภาพ (จุดนี้รวมถึงเกษตร แต่ละคน มีเนื้อที่น้อยจนไม่คุ้มที่จะใช้เทคโนใดๆ มาร่วมนอกจาก “สองมือที่แข็งขัน..แต่ผลผลิตไม่แข็งแรง!!”
ระบบอุตสาหกรรมไทยเป็นกึ่งระบบผูกขาด (เป็นตลาดที่รัฐบาลอุ้ม) จุดนี้ส่งผลต่อความอืดฉืด และแข่งขันไม่ได้ …การแบ่งนำ้ตาลของไทยจะแบ่งเป็นระบบ โควต้า ก ข ค (โดยโควต้า ก ก็คือการบริโภคภายในประเทศ ..โควต้า ข เป็นโควต้าสำหรับ(อนท.) ใช้เพื่อคำนวณราคาอ้อย ซึ่งใช้การเข้ามาประมูลของ Trader เป็นการดูและกำหนดราคา (หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมีการกำหนดราคา ..ก็เพราะเวลาขายอ้อย เขาจะขายแบบ ยังไม่ได้กำหนดราคา เนื่องจาก จะต้องใช้โควต้า ข เป็นตัวกำหนดราคา …ส่วนโควต้า ค (ส่งออก)ก็จะใช้ราคาตลาด New york โลกเป็นตัวอ้างอิง)
คุณคิดให้ดี นี่แหละปัญหา คุณใช้ราคาอิงตลาดโลก แต่คุณจำกัด Supply ต้องแบ่งโควต้าในประเทศ “ปกติปัญหามันไม่เกิด เพราะโควต้า ก ตั้งขึ้นมาเพื่ออุ้มอุตสาหกรรมน้ำตาล ..ทำให้เรากินน้ำตาลแพงกว่าตลาดโลกมาช้านาน” …แต่ปัญหามันเกิดคือ ช่วงที่ผ่านมา “ราคาน้ำตาลโลก” มันแพงกว่า “ราคาโควต้า ก” …ไม่ต้องพูดก็รู้ว่า มันต้องมีการแอบลักลอบ เอาน้ำตาลไปขายต่างประเทศ (แค่นี้ก็รู้แล้ว ว่าปัญหาที่ตอนนี้ บ่นๆว่า น้ำตาลมันขาดเพราะอะไร !!)
มาในส่วน โควต้า ค …ก็คือ โควต้าส่งออก ซึ่งตรงนี้แหละที่เปิดเสรี โดย Trader Company จะเข้ามา Handle จัดการในส่วนนี้
ซึ่งพอเอาเข้าจริง “คุณต้องเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์อยู่แล้ว” ของมันวิ่งตามราคาอยู่แล้ว ถ้ากำหนดมันก็ “ลงใต้ดิน” ..การกำหนดโควต้า แบบไม่เข้ากลไกตลาด มีแต่จะทำลายตลาด “ผลลัพธ์ก็คือน้ำตาลขาดตลาด ..จะบ้าหรือ!! ไทยเราผลิตเกิน Demand ตั้งมาก จะขาดตลาดได้ไง!! --มันชี้ให้เห็นเลยว่า “ระบบโควต้ามันล้าหลัง !!”
ทุกวันนี้ประเทศพัฒนาแล้ว เขาปล่อยให้ ราคา ขึ้นลงตาม ตลาดโลก …จุดหนึ่งมันทำให้อุตสาหกรรมและคนของเขา มีความรู้ และมีความพร้อมต่อการแข็งขันของ กลไกของทุนนิยม
ทุกวันนี้ทั้งอุตสาหกรรมเราอ่อนแอ ยกตัวอย่างโรงน้ำตาล ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา “หนี้สิน..ยังอิลุงตุงนัง!!” คิดดูโรงงานที่ติดหนี้ ทำเงินมาได้ก็ต้องให้ธนาคาร “ใครมันจะมีกำลังใจทำเต็มที่..เข้าสู่ระบบการผลิตแบบ เช้าชามเย็นชาม” ธนาคารก็ปล่อยให้พังไม่ได้ เพราะ ธุรกิจน้ำตาล Cycle ผันผวน ลองเขาขาขึ้น “รวยกันสุดๆ” …เจ้าของ Real-estate โตๆในเมืองไทย อยู่ในมือ เจ้าสัวโรงน้ำตาลเยอะแยะ อย่างมาเล “โรเบิร์ต กร๊วก” เจ้าของ “โรงแรมแชงกรีล่า”
ฮึม!! อึมครึม … น่าสนใจ ..นี่แหละเสน่ห์ของอุตสาหกรรมน้ำตาล !!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น